Logo
มัดรวม 9 วิธีเพิ่มความปลอดภัยในสำนักงาน ลดการบาดเจ็บในออฟฟิศ

มัดรวม 9 วิธีเพิ่มความปลอดภัยในสำนักงาน ลดการบาดเจ็บในออฟฟิศ

ความปลอดภัยในสำนักงาน เป็นสิ่งที่องค์กร และบริษัททุกแห่งควรจะให้ความใส่ใจ เนื่องจากในสถานที่ทำงานที่เต็มไปด้วยเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถทำให้พนักงานได้รับอันตราย หรือเกิดอุบัติเหตุขึ้นขณะทำงานได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย บริษัทต่าง ๆ จึงควรมองหาวิธีเพิ่มความปลอดภัยในสำนักงาน ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุที่เป็นอันตรายต่อพนักงานได้ แน่นอนว่า CP TOWER ก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ เราจึงได้รวบรวม 9 วิธีเพิ่มความปลอดภัยในสำนักงานมาแนะนำให้คุณได้ในไปปรับใช้กัน

9 วิธีเพิ่มความปลอดภัยในสำนักงาน ลดการบาดเจ็บในออฟฟิศ

สำหรับ 9 วิธีความปลอดภัยในสำนักงานที่ CP TOWER นำมาแบ่งปันในบทความนี้ นับว่ามีความครอบคลุมอุบัติเหตุทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นในสำนักงาน แล้วจะมีอะไรบ้าง เราไปดูพร้อม ๆ กันเลย

ไม่ว่างของเกะกะ

1. จัดวางของให้เป็นระเบียบ

กล่องเอกสาร และกล่องพัสดุที่วางระเกะระกะอยู่บนพื้น รวมถึงสายไฟที่พาดผ่านทางเดิน สามารถทำให้พนักงานเกิดอุบัติเหตุได้ ไม่ว่าจะเป็นการสะดุดล้ม หรือเดินเตะจนได้รับบาดแผล ดังนั้น เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในสำนักงาน บริษัทจึงควรจัดหาที่วางของให้เป็นระเบียบ และปลูกฝังพนักงานให้มีวินัยในการจัดเก็บสิ่งของ รวมถึงเก็บสายไฟที่พาดอยู่บริเวณทางเดินให้เป็นระเบียบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายขึ้นในที่ทำงาน

2. หลีกเลี่ยงการยืนบนเก้าอี้

เนื่องจากเก้าอี้สำนักงานโดยส่วนใหญ่ จะเป็นเก้าอี้แบบมีล้อเลื่อน การขึ้นไปยืนบนเก้าอี้อาจทำให้พนักงานได้รับอันตรายจากการพลัดตกได้ ดังนั้น บริษัทจึงควรจัดหาบันไดขนาดเล็กเตรียมเอาไว้ในสำนักงาน เพื่อให้พนักงานสามารถหยิบมาใช้เมื่อต้องการหยิบสิ่งของบนชั้นสูง ๆ ได้โดยไม่เป็นอันตราย

ติดตั้งวัสดุกันลื่น

3. ติดตั้งวัสดุกันลื่น

โดยส่วนใหญ่แล้ว บริษัทส่วนใหญ่มักจะเลือกใช้หินอ่อน หรือกระเบื้องปูไว้บริเวณหน้าทางเข้า ซึ่งวัสดุเหล่านี้จะลื่นมาก ๆ เมื่อเปียกน้ำ ซึ่งอาจจะทำให้พนักงานที่เดินเข้า-ออกเกิดอันตรายจากการลื่นล้มได้ ดังนั้นจึงควรปูพรมหรือแผ่นกันลื่นเอาไว้บริเวณทางเข้าเพื่อกันลื่น และป้องกันไม่ให้เกิดคราบสกปรกเมื่อเดินเข้ามาในอาคาร

4.วางซ้อนสิ่งของให้ปลอดภัย

การวางซ้อนสิ่งของอย่างถูกต้อง จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากการถูกสิ่งของหล่นทับได้ โดยควรจะจัดวางสิ่งของที่มีขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมากให้อยู่ติดพื้นมากที่สุด ส่วนสิ่งของที่มีขนาดเล็กหรือมีน้ำหนักเบาให้จัดเรียงไว้ด้านบนอย่างเป็นระเบียบ อย่างน้อยหากสิ่งของที่อยู่ด้านบนตกลงมาจะได้ไม่บาดเจ็บรุนแรง

ปิดลิ้นชักเก็บของ

5. ปิดลิ้นชักเก็บของให้ดี

ตู้เอกสารที่มีลิ้นชัก หรือประตูเปิดกว้าง และไม่ยอมปิดให้สนิทหลังใช้งาน อาจทำให้พนักงานที่เดินโดยไม่ระมัดระวัง เดินไปเตะ หรือชนลิ้นชักจนได้รับบาดเจ็บเอาได้ ดังนั้น หลังจากใช้งานจึงควรปิดลิ้นชัก หรือประตูตู้เก็บของให้สนิททุกครั้งหลังใช้งาน

6. ตรวจสอบสายไฟและปลั๊กไฟอย่างสม่ำเสมอ

สายไฟ และปลั๊กไฟเป็นอุปกรณ์สำคัญที่มีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากบริษัทจะต้องให้ความสำคัญกับการเลือกสายไฟ และปลั๊กไฟที่ได้มาตรฐานแล้ว ยังควรใส่ใจกับการตรวจสอบสภาพเป็นประจำ เพื่อดูว่าสายไฟ และปลั๊กไฟที่ใช้อยู่มีการสึกหรอและชำรุดหรือไม่ ปลั๊กพ่วงมีการเสียบพ่วงเยอะเกินไปไหม เพื่อป้องกันปัญหาไฟฟ้าลัดวงจรจากอุปกรณ์ที่ไม่มีคุณภาพ และการพ่วงที่เยอะเกินไป

ไม่วางของกีดขวางหัวสปริงเกอร์

7. ไม่วางสิ่งของกีดขวางหัวสปริงเกอร์และหมั่นตรวจเช็กเป็นประจำ

การวางเฟอร์นิเจอร์และสิ่งของต่าง ๆ กีดขวางหัวสปริงเกอร์ จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสปริงเกอร์ลดลง และไม่สามารถดับไฟเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ได้ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการวางสิ่งของใต้หัวสปริงเกอร์ ในระยะ 18 นิ้ว นอกจากนี้ยังควรตรวจเช็กสภาพสปริงเกอร์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อให้หัวสปริงเกอร์สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

8. ไม่วางสิ่งของกีดขวางทางหนีไฟ

ทางหนีไฟ เป็นเส้นทางสำคัญที่ใช้หลบหนีจากอาคารเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ดังนั้น จึงไม่ควรมีสิ่งของใด ๆ ไปวางกีดขวางบริเวณประตู และบันไดหนีไฟโดยเด็ดขาด อีกทั้งยังไม่ควรเปิดประตูทางหนีไฟทิ้งไว้ และยังควรมีป้ายทางหนีไฟติดไว้ให้ชัดเจน ที่สำคัญคือ ควรมีการซ้อมหนีไฟเป็นประจำ เผื่อเกิดเหตุไฟไหม้ขึ้นพนักงานจะได้สามารถรับมือเหตุการณ์ได้อย่างถูกต้อง

ลดแสงสว่าง

9. ลดแสงสว่าง

แม้แสงสว่างจะมีความจำเป็นกับการทำงาน แต่ในบางครั้ง การมีแสงสว่างที่มากเกินไปอาจกระทบกับการมองเห็นของพนักงานได้ เพราะความสว่างของหลอดไฟที่ติดตั้งในสำนักงาน จะสว่างกว่าแสงที่ดวงตาของเรารับไหว ดังนั้น จึงควรเปลี่ยนไปใช้โคมไฟ หรือลดแสงจากหลอดไฟบนเพดานลง และเลือกหลอดไฟที่ให้แสงสว่างเพียงพอ รวมถึงเหมาะสมกับการทำงาน

Sick Building Syndrome

“Sick Building Syndrome” อีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการไม่ควรละเลย

นอกจากการให้ความใส่ใจกับความปลอดภัยในสำนักงานแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้ามก็คือ สุขภาพของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในอาคาร ซึ่งการทำความรู้จักโรค Sick Building Syndrome จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถหาแนวทางการรับมือ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในสำนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Sick Building Syndrome เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในสำนักงานอย่างไร?

Sick Building Syndrome (SBS) หรือโรคตึกเป็นพิษ เป็นกลุ่มโรคที่สามารถได้บ่อยในปัจจุบัน โดยจะเป็นภาวะความเจ็บป่วยที่เชื่อว่าเกิดจากการทำงานภายในอาคาร และสถานที่ปิด แต่ไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนได้ ซึ่งอาการป่วยเหล่านี้จะไม่มีลักษณะเฉพาะโรค แต่มักจะเกิดในสำนักงาน และมีอาการดีขึ้นเมื่ออยู่ออกนอกตัวอาคาร

การป้องกันการเกิดโรค Sick Building Syndrome

แม้ว่าโรคตึกเป็นพิษหรือ Sick Building Syndrome จะยังไม่สามารถระบุสาเหตุ และลักษณะของโรคที่แน่ชัดได้ แต่การหาวิธีป้องกันเอาไว้ ก็จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในสำนักงานให้กับพนักงานได้ โดยวิธีป้องกันมีดังนี้
กำจัดแหล่งสารปนเปื้อนในอาคาร เช่น บำรุงรักษาระบบเครื่องปรับอากาศและระบบระบายอากาศอย่างสม่ำเสมอ ทำความสะอาดพื้นที่สำนักงานเป็นประจำ ไม่ทิ้งขยะไว้ข้ามคืน เป็นต้น
ลดปริมาณมลภาวะในอากาศ ผ่านการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า VOCs ต่ำ หรือมีไอระเหยเป็นพิษน้อยที่สุด 
ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร เช่น เพิ่มระบบถ่ายเทอากาศในบริเวณที่สารเคมีระเหยออกมาได้ เลือกต้นไม้ที่ช่วยกรองอากาศมาปลูกไว้ในสำนักงาน เปิดหน้าต่างหลังจากปิดเครื่องปรับอากาศเพื่อระบายอากาศ เป็นต้น
ปรับแสงไฟภายในอาคารให้พอดี เพื่อลดการใช้สายตาที่อาจทำให้เกิดความเครียดมากขึ้น

ความปลอดภัยในสำนักงาน

CP TOWER (ซี.พี.ทาวเวอร์) แหล่งรวมพื้นที่ทำงานที่มีความปลอดภัยในสำนักงานสูง

ความปลอดภัยในสำนักงานนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรต้องให้ความใส่ใจ เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยให้พนักงานที่ทำงานอยู่ในสำนักงาน สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขมากยิ่งขึ้น และจากทั้ง 9 วิธีเพิ่มความปลอดภัยในสำนักงานที่ CP TOWER รวบรวมมาให้ ก็น่าจะเป็นแนวทางในการเพิ่มความปลอดภัยในสำนักงานให้กับหลาย ๆ องค์กรได้


สุดท้ายนี้ สำหรับเจ้าของธุรกิจหรือองค์กรที่กำลังมองหาสำนักงานบนทำเลคุณภาพ เดินทางสะดวก มีสิ่งอำนวยความสะดวก และระบบสาธารณูปโภคครบครัน CP TOWER (ซี.พี.ทาวเวอร์) ก็นับว่าเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ สำหรับผู้ที่สนใจเช่าพื้นที่สำนักงาน หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ผ่านช่องทางดังนี้
Tel : 02 766 3870, 02 766 3888
Mobile : 083 989 1505, 091 774 9233
E-Mail : [email protected]